เรื่องของพลาสติก ทำไมต้องคิดให้ไกลและครบวงจร กับกิจกรรม Get to know more about plastic

 

ปัจจุบันการวางรากฐานของการบริหารจัดการพลาสติกเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนมีการปรับตัวและให้ความสำคัญ โดยแนวคิดดังกล่าวไม่ได้มุ่งเน้นไปเพียงแค่ภาคส่วนใด หรือ หน่วยงานใดที่เจาะจง แต่เป็นการมุ่งเน้นการดำเนินการไปยังส่วนงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภาควัสดุ ผู้ผลิต ผู้ใช้งาน ตลอดจนขั้นตอนในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างระบบในการบริหารจัดการพลาสติกและขยะพลาสติกได้อย่างครบวงจรและยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย

            อ้างอิงบทความ จาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) บทความจาก นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ (ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก) กล่าวเพิ่มเติมว่า “Value Chain และ Supply Chain ด้านกระบวนการรีไซเคิลทั้งหมด ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีคุณภาพและมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งการรีไซเคิล สามารถแยกออกเป็น 2 แบบ คือ Mechanical Recycle คือการรีไซเคิลแบบเชิงกล และ Chemical Recycle ที่มีการนำเศษพลาสติกเข้าสู่กระบวนการทางเคมีให้ได้ออกมาเป็นน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นจะเป็นการเพิ่มมูลค่าต่อไป หลังจากนั้นทีมวิจัยจะถอดบทเรียน และนำผลการศึกษามาพัฒนาและจัดทำแบบแผนธุรกิจ (Business Model) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างยั่งยืน เป็นการลดการเพิ่มขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบรีไซเคิล อีกทั้งทำแอปพลิเคชันแพลตฟอร์มเข้ามาเชื่อมโยงและสนับสนุนข้อมูลทั้งหมด” จากข้อมูลในข้างต้นได้เห็นถึงคีย์สำคัญอย่างยิ่งว่า การบริหารจัดการขยะพลาสติก จะเน้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ แต่ต้องเริ่มต้นทำงานในรูปแบบบูรณาการ สร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างขั้นตอนการรีไซเคิลได้อย่างครบวงจร สามารถนำพลาสติกที่เข้าสู่กระบวนการมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และคุณภาพตามผลิตภัณฑ์ที่นำไปผลิต

            เพื่อตอกย้ำในเรื่องดังกล่าว และเป็นการวางแผนการดำเนินงานในระยะยาวด้านความยั่งยืนในการบริหารจัดการพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 สถาบันพลาสติก ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)  สยามพิวรรธน์ PPP PLASTICS กลุ่มบริษัท DOW ประเทศไทย และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรม Get to know more about plastic ซึ่งภายในงานจะมีการอธิบายถึงการแข่งขันประกวด business model สำหรับการจัดการพลาสติก (From Pieces to Business) และงานเสวนาหัวข้อ “พลาสติก” จากปัจจุบันสู่อนาคต (PLASTIC: From Now to the Future) ที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ร่วมเสวนาทั้งในเชิงสถานการณ์ การจัดการ และแนวทางการกำหนดทิศทางโมเดลธุรกิจ (Business model) เพื่อการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

ในการเสวนา คุณวีระ  ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก ได้พูดถึงสถานการณ์ของพลาสติก การดำเนินการจัดการขยะพลาสติก และปัญหาของการจัดการพลาสติกในปัจจุบัน พร้อมแสดงมุมมองเรื่องโอกาสของอุตสาหกรรมพลาสติก ข้อจำกัดต่างๆของการจัดการพลาสติก

ด้านคุณนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ (รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ ได้พูดถึงการขับเคลื่อนและโครงการต่างๆ ตลอดจนตัวอย่างและแนวทางในการบริหารจัดการพลาสติกอย่างเป็นระบบของ กลุ่ม สยามพิวรรธน์ รวมถึงโอกาสที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ประกอบการ/ห้างสรรพสินค้า

ศ.ดร. พิสุทธิ์ เพียรมนกุล (รองคณบดีด้านยุทธิสาสตรนวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พูดถึงแนวงทางและเป้าหมายของแผนธุรกิจ การจัดการพลาสติก และได้เสนอมุมมองในการส่งเสริมการจัดการพลาสติกในเชิงนโยบาย

 

 

ทั้งนี้ในส่วนของกิจกรรมดังกล่าวยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องซึ่งจะมีการทำงานในการวิจัย ด้านข้อมูล การพัฒนาแผนงาน และสร้างนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการพลาสติกที่ยั่งยืนด้วย และในส่วนของสถาบันพลาสติกเองยังสนับสนุนการสร้าง Value Chain ให้กับอุตสาหกรรมพลาสติก ผ่านการทำงานด้านวิจัยและให้ข้อมูลกับภาคอุตสาหกรรม การพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมทั้งวัสดุและผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ ตลอดจนการช่วยพัฒนากระบวนการผลิตและการรีไซเคิลให้กับโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม

ร่วมติดตามกิจกรรมและข่าวสารอันเป็นประโยชน์ได้ที่

Website > https://www.thaiplastics.org/

Facebook : Plastics Institute of Thailand - สถาบันพลาสติก

Line : @Thaiplastics

Youtube Official : Thaiplastics

Tel: 02-391-5340-43 ต่อ 421

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก https://pmuc.or.th/?p=3831

ดาวน์โหลด