4 ปัจจัยบวกน่าสนใจ ส่งเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก กลุ่มฟิล์มหด ให้ก้าวกระโดด

   

                จากสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบันกำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จากผลกระทบของการกักตัว นโยบายการล็อกดาวน์ ที่ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถออกไปจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวกนั้น อุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงร้านอาหารที่มีการจัดจำหน่ายต่างได้รับผลกระทบตามกัน แต่ถึงอย่างนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต่างได้มีการเรียนรู้และปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ และที่สำคัญในผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มบางรายการกลับปรับตัวและสร้างรายได้ ได้เป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย  สิ่งที่ทำให้กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้บริโภคต้องการปรับตัวรับมือและดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีมากขึ้น ดังนั้น แบรนด์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงต่างได้รับผลในเชิงบวกกับสถานการณ์นี้

                ฟิล์มหด (Shrink Label)

                สำหรับฉลากแบบสวม (Sleeve Label) หรือ ฟิล์มหด (Shrink Label) ถือเป็น 1 ใน 3 จากกลุ่มฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีการใช้งานอย่างกว้างขว้าง โดยทั่วโลกและในต่างประเทศส่วนมีการใช้งานในปัจจุบันจะเป็นกลุ่มวัสดุ PET เนื่องจาก วัสดุเดิมที่ใช้เป็นวัสดุ PVC แต่ในประเทศไทยเรานั้นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่มีการจำหน่ายภายในประเทศยังไม่กฎข้อบังคับเกี่ยวกับกระแสการเลิกใช้ PVC ไม่มากนัก ดังนั้นในตลาดบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยยังมีการใช้ฟิล์มหดในวัสดุ PVC อยู่มาก เพราะช่วยในเรื่องของยืดหยุ่นที่เหมาะสม ลดการสูญเสียจากการจัดเก็บได้มาก

                การใช้ฟิล์มหด (Shrink Label)

                สำหรับการใช้งานฟิล์มหด (Shrink Label) มีความอเนกประสงค์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากทำหน้าที่ในการสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์แล้ว ยังช่วยดูแลผลิตภัณฑ์ ไม่ให้เกิดการเสียรูป หรือป่นเปื่อนกับสิ่งสกปรกได้อีกด้วย โดยการใช้งานจะถูกนำมาใช้กับกลุ่มของบรรจุภัณฑ์คงรูป (Rigid Packaging) เช่น ขวด ถ้วย กระป๋อง เป็นต้น โดยการผลิตเป็นการทำฉลากให้เป็นซองที่เปิดบนและเปิดล่าง เมื่อสวมบนขวดที่ตัวหรือที่คอแล้ว ใช้ความร้อนเพื่อให้ฉลากหดตัวรัดแนบกับผิวของบรรจุภัณฑ์ที่ผลิต ด้วยความสะดวกในการผลิต และง่ายต่อการสื่อสารไปยังผู้บริโภคจึงทำให้ ฟิล์มหด เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

                จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้นเราจะเห็นได้ถึงความน่าสนใจในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งหากเราสังเกต จะพบว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมักจะมาควบคู่กับการจัดส่ง พฤติกรรมการซื้อในช่วงการล็อกดาวน์ จึงเป็นที่มาของ 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้ ที่ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์ฟิล์มหดยิ่งมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  1. แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดืมที่สามารถจัดเก็บได้นาน

                นอกจากนี้หากพูดถึงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่พูดถึงการจัดส่งหรือ Delivery สำหรับผู้ประกอบการบางรายยังมีวิธีการในการปรับตัวต่างๆ ที่น่าสนใจจากการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าในกลุ่มอื่นๆ ลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และอีกหนึ่งวิธีคือ การผลิตอาหารและเครื่องดื่มพร้อมส่ง หรืออาหารแปรรูปเพื่อสุขภาพ ที่ผลิตให้ง่ายต่อการเก็บรักษา การนำมาปรุงใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค รวมถึงการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆที่บ้าน ทั้งการเรียน การทำงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ครอบครัวต้องอยู่ที่บ้านเป็นหลัก  โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจได้ระบุถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศ ที่น่าสนใจ โดยมีการเติบโตถึง 68,000 ล้านบาท เทียบเป็นมูลค่าของตลาดโลกได้ถึง 180 ล้านดอลลาร์ หรือ 5% ของตลาดโลก โดยเป็นกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพและยา ที่ถือว่ามีความเติบโตในประเทศที่สูงขึ้น

  1. พฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารด้วยระบบออนไลน์ e-Commerce

                อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจก่อนที่เราจะไปดูกันว่าทำไมบรรจุภัณฑ์ฟิล์มหดถึงมีความน่าสนใจ ด้วยเหตุการณ์ของการรณรงค์ไม่ออกนอกบ้าน งดการเดินทางจับจ่ายหรือซื้ออาหารด้วยตนเอง การลดการสัมผัสให้น้อยลง ได้สร้างการใช้ชีวิตในแบบวิถีใหม่ New Normal ขึ้นมา ซึ่งก็ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจ e-Commerce การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศ มีการเติบโตขึ้น โดยมูลค่าของธุรกิจนี้ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจ คือ 220,000 ล้านบาทในปี 2563 ซึ่งอัตราที่เพิ่มขึ้น จากปี 2562 ถึง 35%

  1. กระแสการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

                เป็นที่ทราบกันดีถึงกระแสการดูแลสิ่งแวดล้อม กลุ่มบรรุจภัณฑ์ฟิล์มหดที่ผลิตจากพลาสติกชนิด (PET) ซึ่งถูกนำมาผลิตและทดแทน ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์ฟิล์มหดจะช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้ โดยผู้ผลิตใช้กลุ่มบรรจุภัณฑ์ฟิล์มหดในการบรรจุ วัสดุพลาสติกเหล่านี้สามารถนำไปคัดแยกอย่างเหมาะสมเพื่อนำไปสู่กระบวนการของการรีไซเคิลได้ และในอีกกรณี ที่สำคัญคือการช่วยประหยัดทรัพยากรการใช้วัสดุเพราะกลุ่มบรรจุภัณฑ์ฟิล์มหดสามารถเลือกวิธีการผลิตที่หลากหลายรวมไปถึงการพิมพ์ที่สามารถลดต้นทุนประหยัดทรัพยากรจากวัสดุอื่นที่ต้องมาใช้งานร่วมด้วยได้ และยังช่วยแยกการใช้วัสดุต่างๆ ออกได้อย่างชัดเจนอีกด้วย เพื่อให้สามารถนำกลับไปใช้หรือรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ความง่ายต่อการผลิต

                ความหลากหลายทางการผลิต ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะไม่ว่าจะเป็นการผลิตร่วมกับกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง อาหารบรรจุขวด  หรือแบบบรรจุร่วมกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น ความสะดวกในการใช้งานเริ่มตั้งแต่การออกแบบเพื่อสร้างความสวยงามให้กับบรรจุภัณฑ์ การช่วยเพิ่มมูลค่าด้านการออกแบบได้ นอกจากนี้การนำบรรจุภัณฑ์ฟิล์มหดไปใช้กับบรรจุภัฑณ์ประเภทอื่น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ และการเก็บรักษาบรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีด้วย

                จากทั้ง 4 ปัจจัยที่ได้กล่าวมาข้างต้นทำให้เราได้ภาพชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับการเติบโตของบรรจุภัณฑ์ฟิล์มหด ที่คอยทำหน้าที่ทั้งการปกป้องสินค้า การสื่อสารกับผู้บริโภค การห่อหุ้มสินค้าให้สามารถส่งถึงมือผู้บริโภค โดยเราสามารถมองเห็นเรื่องราวที่น่าสนใจได้มากขึ้นไปอีก แน่นอนว่าบรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสาร รวมไปถึงดึงดูดให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มนั่นคือ ฉลาก หรือ ฟิล์มหดที่ใช้ห่อหุ้ม โดยผ่านการพัฒนาในขั้นตอนต่างๆ ทั้งการออกแบบ การพิมพ์ การสร้างแรงดึงดูดจากการมองเห็น ผ่านรูปที่แสดงผลบนหน้าจอ และสายตาของผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่า กลุ่มบรรจุภัณฑ์จะได้รับแรงบวกจากทั้ง 4 ปัจจัยในข้างต้นนี้ในรูปแบบใดบ้าง จากข้อมูลที่น่าสนใจโดย อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีข้อมูลที่น่าสนใจจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มผู้แปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกกว่า 2,000 รายว่า 64 % ของผู้บริโภคได้จับจ่าย หรือ ซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากบรรจุภัณฑ์เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อ และ 74% ของผู้บริโภคในกลุ่มยังช่วยส่งเสริมสินค้า บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นด้วยการแชร์รูปภาพของสินค้าอีกด้วย

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นทำให้เราได้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรจุภัณฑ์พลาสติก กลุ่มฟิล์มหด ที่มีความน่าสนใจและน่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจ เสริมจุดแข็งให้กับผลิตภัณฑ์ ในการเข้าถึงตลาดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตดังกล่าวจำเป็นต้องเกิดการทำงานร่วมกันในแบบบูรณาการของ 3 ส่วนคือ ส่วนของการตลาด การออกแบบและภาคการผลิต ที่จะต้องทำงานร่วมกัน โดยสถาบันพลาสติกพร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 ส่วน ด้วยบริการข้อมูลและวิจัยตลาด พร้อมศึกษาและร่วมวิจัยข้อมูลที่สำคัญให้กับผู้ประกอบการ บริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่พร้อมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่พร้อมสามารถผลิตได้ เพื่อรองรับการเติบโตทางด้านนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์พลาสติก ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมพลาสติกให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากบทความ Shrink sleeve packaging a strong trend in Thailand และ THAI PACKAGING NEWSLETTER ฉบับJuly - August 2021

โดยอาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก (ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ด้านบรรจุภัณฑ์ สถาบันพลาสติก ) ในวารสาร FoodPacific Manufacturing Journal July 2021 และ www.industrysourcing.com

 

สามารถติดตามข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ที่

Website > https://www.thaiplastics.org/

Facebook : Plastics Institute of Thailand - สถาบันพลาสติก

Line : @Thaiplastics

Youtube Official : Thaiplastics