ซองชีวภาพ บรรจุน้ำตาลอ้อยธรรมชาติ สำหรับร้านคาเฟ่แบบ take a way ให้นักดื่มกาแฟรักษ์โลกและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชีวภาพได้

     ปัจจุบันการดื่มกาแฟหรือการดื่มเครื่องดื่มชงสดในร้านคาเฟ่ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของผู้คนในวัยต่างๆ ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงกลุ่มผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแวะซื้อดื่มระหว่างทาง หรือการดื่มที่ร้าน และแน่นอนว่าการดื่มในแต่ละครั้งพฤติกรรมหรือความชอบในรสชาติของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน หนึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการเติมรสชาติให้กับกาแฟ และเครื่องดื่มชง คือ น้ำตาล และน้ำตาลที่เสิร์ฟนั้นโดยส่วนมากจะเป็นรูปแบบซองแบบ take a way ที่เน้นการพกพาและใช้ได้อย่างสะดวก ซึ่งหากผู้บริโภคเครื่องดื่มมีการใช้ซองดังกล่าวและไม่มีการดูแลหรือการทิ้งที่ถูกต้อง จะกลายเป็นปัญหาด้านขยะพลาสติก เพราะวัสดุที่ใช้ในการเคลือบซองน้ำตาลที่เป็นกระดาษ ถูกผลิตมาจากพลาสติกชนิดพอลิเอเทลีนเป็นส่วนมาก ดังนั้นการนำวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้สำหรับเคลือบแทนจะช่วยลดและแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

     ด้วยเหตุผลดังกล่าวการพัฒนาซองน้ำตาลแบบ take a way ที่มีการนำพลาสติกชีวภาพมาใช้จะช่วยลดปัญหาในการทิ้งขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือวัสดุดังกล่าวสามารถใช้วัตถุดิบทางการเกษตรอย่าง อ้อย มาเป็นส่วนสำคัญในการแปรรูปเป็นพลาสติกชีวภาพได้อีกด้วย ที่สำคัญยังถือเป็นโมเดลสำคัญที่ช่วยยกระดับเพิ่มมูลค่าให้กับอ้อยและวัตถุดิบทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี

     เพื่อให้นักดื่มกาแฟได้เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุชีวภาพ พร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อม ร่วมทำความรู้จักกับซองชีวภาพ บรรจุน้ำตาลอ้อยธรรมชาติ แบบ take a way กันมากขึ้น

การผลิตซองชีวภาพ บรรจุน้ำตาลอ้อยธรรมชาติ แบบ take a way
ใช้วิธีการ Cast film lamination หรือการผลิตฟิล์มและนำฟิล์มชีวภาพที่ได้ไปลามิเนต หรือเคลือบกับกระดาษ จากนั้นก็สามารถนำมาบรรจุกับน้ำตาลในกระบวนการผลิตเดิมได้

วัสดุที่ใช้ในการผลิต
เป็นการนำ PLA + PBS Compound หรือ Polylactic Acid ผสมกับ PBS Polybutylene succinate ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้จากวัสดุทางธรรมชาติ

 

 
ประโยชน์จากการพัฒนา
1.สามารถย่อยสลายได้ทางธรรมหากกำจัดอย่างถูกวิธี
2.รักษาและป้องกันไม่น้ำตาลที่บรรจุอยู่ภายในเกิดความเสียหาย ที่มีสาเหตุจากความชื่น
3.ช่วยเพิ่มมูลค่ากับวัตถุดิบทางธรรมชาติที่นำมาผลิต
4.ส่เสริมการขับเคลื่อนการดูแลสิ่งแวดล้อมและนโยบาย BCG


     จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่าการนำวัสดุชีวภาพมาใช้ในการผลิต นอกเหนือจากจะเป็นการยกระดับให้กับอ้อยและผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และด้วยความสำคัญในเรื่องดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงได้ร่วมกับสถาบันพลาสติกจัดกิจกรรม สร้างการรับรู้พร้อมกับผลักดันแนวคิดของการเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ใช้งาน โดยวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา นายนรุณ สุขสมาน รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ได้เป็นประธานในการส่งมอบซองชีวภาพ บรรจุน้ำตาลอ้อยธรรมชาติ สำหรับร้านคาเฟ่แบบ take a way จำนวน 1,000 ซอง ให้กับร้าน DAVIN CAFE Specialty เพื่อเป็นส่งเสริมการรับรู้และสร้างประสบการณ์ในการเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์จากวัสดุชีวภาพ

 

     นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัสดุชีวภาพจากอ้อยและน้ำตาลอีก 4 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้ากันเปื้อนรองเตียงแอนตี้แบค ใช้ครั้งเดียวทิ้งย่อยสลายได้ ผลิตภัณฑ์ซองไปรษณีย์พลาสติกชีวภาพ ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าจากสารลดแรงตึงผิวที่ได้จากน้ำตาล และวัสดุกระจายกลิ่นหอมปรับอากาศที่ได้จากดินเซรามิกและเถ้าชานอ้อย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาภายใต้โครงการ ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการช่วยพัฒนาและยกระดับวัสดุชีวภาพ และผลผลิตทางการเกษตรจากอ้อยและน้ำตาลได้เป็นอย่างดี

     สถาบันพลาสติกพร้อมเป็นส่วนหนึ่งให้กับภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ในการพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม การคอมพาวด์พลาสติก การสร้างวัสดุให้ตอบโจทย์แนวคิด BCG Model ให้สามารถนำไปต่อยอดและใช้ในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าแก่ผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ได้

อ่านข่าวกิจกรรมการมอบซองน้ำตาลได้ที่

https://siamrath.co.th/n/374742

https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_7218513

https://www.matichon.co.th/publicize/news_3513421

https://www.prachachat.net/public-relations/news-1018023

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000079028

สามารถติดตามข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ที่

Website > https://www.thaiplastics.org/

Facebook : Plastics Institute of Thailand - สถาบันพลาสติก

Line : @Thaiplastics

Youtube Official : Thaiplastics

Tel: 02-391-5340-43 ต่อ 421

ดาวน์โหลด