สถาบันพลาสติก เข้าร่วมงานเปิดตัว “สถานีเติมผลิตภัณฑ์ หรือ Refill Station” ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้พลาสติกอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

     ด้วยวาระแห่งชาติเรื่องแนวคิด BCG Model ที่กระตุ้นทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคผู้ประกอบการ ภาครัฐ และภาคประชาชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญและการสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวให้มีความชัดเจน อันนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวคิดที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมพลาสติกคือแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการนำกลับมาใช้งานในรูปแบบต่างๆให้ได้มากที่สุด บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักในการนำพลาสติกมาใช้ ดังนั้นการที่สามารถนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้งานซ้ำอีก จึงเป็นการส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวได้อย่างชัดเจน


     เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ในฐานะของหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จึงได้ทำการเปิดตัวสถานีเติมผลิตภัณฑ์ หรือ Refill Station เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์หมดแล้ว มาทำการเติมผลิตภัณฑ์ที่สถานีนี้ได้ โดยในระยะแรกจะเปิดให้สามารถเติมผลิตภัณฑ์น้ำยาปรับผ้านุ่ม นี่ถือว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
     

     โดยในกิจกรรมสถาบันพลาสติกในฐานะของพันธมิตรหน่วยงานร่วมวิจัยและพัฒนาด้านความยั่งยืนนำโดย นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก และ นายคงศักดิ์ ดอกบัว ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลและวิจัยตลาดอุตสาหกรรมพลาสติก ได้เข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขา เซ็นทรัล เวสต์เกต

     ทั้งนี้สถาบันพลาสติกยังพร้อมให้การส่งเสริมผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืนได้ภายใต้แนวคิด BCG Model ไม่ว่าจะเป็นบริการทางด้านข้อมูลและวิจัยตลาด การให้ความรู้ในการพัฒนาองค์กรด้วยแนวคิด BCG Model ตลอดจนกิจกรรมโครงการต่างๆที่พร้อมสร้างอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ โครงการประกวดนวัตกรรม “การจัดการขยะพลาสติก” (คลิกเพื่อดูรายละเอียดโครงการ) โครงการการรับรองการใช้ Post Consumer Recycled (PCR) ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ (คลิกเพื่อดูรายละเอียดโครงการ) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้และพัฒนาอุตสาหกรรมสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนด้วย
ร่วมติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้ที่

Website > https://www.thaiplastics.org/

Facebook : Plastics Institute of Thailand - สถาบันพลาสติก

Line : @Thaiplastics

Youtube Official : Thaiplastics

Tel: 02-391-5340-43 ต่อ 421

ดาวน์โหลด