สถาบันพลาสติกร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม สังคมปลอดขยะ Zero Waste Society สร้างคุณค่าสู่เศรษฐกิจสีเขียว BCG Economy (Bio-Circular-GreenEconomy) รูปแบบออนไลน์
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการดูแลสิ่งแวดล้อม ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญกับทุกภาคส่วน ที่จะต้องให้การดูแลโดยมีแนวคิดที่สำคัญอย่าง BCG Model เป็นแนวคิดหลักในการทำงาน โดยในวงจรของการบริโภคในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการใช้งานผลิตภัณฑ์อยู่มากมายในชีวิตประจำวัน การสร้างองค์ความรู้ในการจัดการที่มีประสิทธิภาพถึงเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างสังคมปลอดขยะด้วยแนวคิด BCG Model ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันพลาสติกถือเป็นวัสดุที่สำคัญและเป็นวัสดุที่อยู่รอบตัวของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่หลากหลาย การนำแนวคิด Circular Economy ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดภายใต้ BCG Model มาเผยแพร่ผ่านการพัฒนาด้วยแผนธุรกิจที่มีการคิดและพัฒนาอย่างครบวงจรจากผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนจะเป็นตัวอย่างในการสร้างการเรียนรู้และเข้าใจ จะช่วยให้เกิดเป็นสังคมที่สร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวได้
โดยวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม(สส.) จัดกิจกรรมสัมมนา : สังคมปลอดขยะ Zero Waste Society สร้างคุณค่าสู่เศรษฐกิจสีเขียว BCG Economy (Bio-Circular-GreenEconomy) รูปแบบออนไลน์ โดยมีนางภาวินี ณ สายบุรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีเปิด เพื่อพัฒนาความรู้และความเข้าใจให้กับ บุคลากรจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทั่วประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน คณะครู นักเรียนและประชาชน ที่เข้าร่วมการสัมมนาจำนวนกว่า 700 คน ในกิจกรรมประกอบไปด้วยการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมปลอดขยะ การสร้างคุณค่าสู่เศรษฐกิจสีเขียวและจุดประกายแนวคิดการจัดการขยะเพิ่มมูลค่ากับเสวนา 4 นวัตกรรมจัดการขยะ รับเทรนด์ “เศรษฐกิจสีเขียว” โดยนายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติกในฐานะเลขานุการโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน : โครงการ PPP Plastics ได้ร่วมให้ความรู้สำหรับจุดประกายไอเดียในการพัฒนานวัตกรรมและสร้างธุรกิจจากขยะพลาสติก ในหัวข้อ นวัตกรรมจัดการขยะพลาสติก นอกจากนี้ภายในงานยังมีการให้ความรู้การพัฒนานวัตกรรมจากขยะในด้านต่างๆเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในการจัดการขยะและสร้างสังคมสีเขียวด้วย BCG Model ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้สถาบันพลาสติกและโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน : โครงการ PPP Plastics ยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะพลาสติกที่ครบวงจร หนึ่งในเครื่องมือที่จะสามารถชวนทุกภาคส่วนมาดูแลสิ่งแวดล้อมได้ นั่นคือ Application สำหรับการจัดการขยะพลาสติกและขยะรีไซเคิล หรือ Application Recycle Market พัฒนาโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเครือข่าย ที่ถือเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงให้กับ บุคคลทั่วไปที่ใส่ใจการดูแลสิ่งแวดล้อม, รถซาเล้ง/รถรับซื้อ, ร้านรับซื้อของเก่า, โรงงานรีไซเคิล, จุดรับ (Drop off Point) และรถขนส่ง ให้สามารถทำงานและขับเคลื่อนการสร้างระบบรีไซเคิลผ่านแอปพลิเคชั่นได้พร้อมกัน
ท่านที่สนใจสามารถโหลดแอปได้ที่ : https://me-qr.com/th/EzYVUj สามารถโหลด App ได้ทั้งระบบ IOS และ Google Play
สอบข้อมูลแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้ที่
Website > https://www.thaiplastics.org/
Facebook : Plastics Institute of Thailand – สถาบันพลาสติก
Line : @Thaiplastics
Youtube Official : Thaiplastics
Tel: 02-391-5340-43 ต่อ 421